พวกเราเคยมีความสงสัยใคร่อยากรู้กันบ้างมั้ยครับว่า จริงๆ แล้ว “มาตรฐาน IP” ที่บอกอยู่บนสเป็คของผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะ กลุ่มสมาร์ทโฟน หรือ แก็ดเจ็ทต่างๆ เค้าบอกข้อมูลอะไรกับเรา วันนี้ SOLUEX ขออาสาพาทุกท่านไปดูข้อมูลเรื่อง ค่า IP กันนะครับ
ค่า IP ถือกำเนิดจาก International Electrotechnical Commission (IEC) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า ค่า IP (ย่อมาจาก Ingress protection) คือค่าตัวเลขที่บอกความสามารถในการป้องกันน้ำหรือสสารอื่น เช่น ฝุ่น ทราย ที่เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ สามารถป้องกันไม่ให้เข้าสู่ภายในของตัวผลิตภัณฑ์ (ซึ่งอาจนำมาซึ่งความเสียหาย หรือการใช้งานที่ไม่สมบูรณ์) ซึ่งนั่นก็คือ การที่อุปกรณ์ต่างๆ ได้ถูกออกแบบมาให้มีการใช้งานที่อาจต้องเผชิญหน้ากับ น้ำ หรือ ฝุ่น และการป้องกันสิ่งเหล่านี้ ก็คือการที่มีการประกอบที่แน่นหนา เน้นเรื่อง sealing หรือการประกบ การยึดติดกัน ไว้ด้วยยางกันน้ำ กันฝุ่น และสกรู ในรูปแบบต่างๆ กันออกไป
ตัวเลข ค่ามาตรฐาน IP บอกอะไรเราบ้าง?
1. ค่า IP เลขตัวแรก
ตัวเลขหลัง IP จะมีสองตัว โดยจะแสดงเป็นตัวเลขด้านหลัง เช่น IP3X ซึ่งตัวเลขที่อยู่หลังตัว P จะบอกถึงความสามารถในการป้องกัน “ของแข็ง” มีค่าตัวเลขตั้งแต่ 0 – 6 แต่ละตัว มีคำอธิบายดังนี้ครับ
- 0 ป้องกันอะไรไม่ได้เลย
- 1 ป้องกันพื้นผิวที่ค่อนข้างใหญ่ เช่น หลังมือ หรือวัตถุที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 50 mm
- 2 ป้องกันการเข้าถึงของวัตถุขนาดเท่านิ้วมือ (ที่ยาวน้อยกว่า 80 mm และมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 12 mm)
- 3 ป้องกันการเข้าถึงของเครื่องมือช่าง ลวดเส้นหนา ๆ หรือวัตถุที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกันที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 2.5 mm หรือมากกว่า
- 4 ป้องกันลวดเกือบทุกประเภท น็อต สกรู หรือวัตถุที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกันที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 mm
- 5 ป้องกันฝุ่นได้บางส่วน (ที่อาจส่งผลให้อุปกรณ์ทำงานผิดพลาด)
- 6 ป้องกันฝุ่นที่อาจทำให้อุปกรณ์ทำงานผิดพลาดได้ (การทดสอบนี้รวมถึงสภาพที่เป็นสุญญากาศ และการปะทะแรงลมอย่างต่อเนื่อง)
จะสังเกตได้ว่า ยิ่งตัวเลขเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการป้องกันวัตถุแปลกปลอมที่มีขนาดเล็กลง (จนเท่าฝุ่น) ก็ยิ่งมีมากขึ้น
2. ค่า IP เลขตัวที่สอง
ตัวเลขตัวที่สองที่ตามมา จะบอกระกับการป้องกัน “ความชื้น” มีตัวเลขตั้งแต่ 0 – 9
- 0 ป้องกันไม่ได้เลย
- 1 ป้องกันหยดน้ำที่หยดในแนวตั้ง และจะไม่ทำให้อุปกรณ์เสียหาย ถ้าอุปกรณ์ยังหงายหน้าขึ้นในท่าใช้งานปกติ (ไม่ใช่คว่ำลง เห็นหลังเครื่อง เป็นต้น)
- 2 ป้องกันน้ำที่มาจากมุมหักเห 15 องศาจากแนวตั้งได้ (อาจจะเป็นละอองน้ำที่สาดเข้ามาจากมุม 15 องศาในแนวตั้ง)
- 3 ป้องกันน้ำที่มาจากมุมหักเห 60 องศาจากแนวตั้งได้ (อาจจะเป็นละอองน้ำที่สาดเข้ามาจากมุม 60 องศาในแนวตั้ง)
- 4 ป้องกันละอองน้ำที่สาดเข้ามาจากทุกทิศทาง (ต้องทดสอบผ่านการถูกพ่นด้วยละอองน้ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 นาที และอาจมีละอองน้ำเล็ดลอดเข้าไปในอุปกรณได้ แต่ไม่ก่อความเสียหาย จนไม่สามารถใช้งานได้)
- 5 ป้องกันน้ำแรงดันต่ำ (6.3 mm) ได้จากทุกทิศทาง (อาจมีละอองน้ำเล็ดลอดเข้าไปในอุปกรณ์ได้ แต่ไม่ก่อความเสียหาย จนไม่สามารถใช้งานได้)
- 6 ป้องกันน้ำแรงดันสูงได้จากทุกทิศทาง
- 7 ป้องกันการถูกจุ่มลงไปในน้ำ (แช่น้ำ) เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที ในน้ำลึกระหว่าง 15 cm ถึง 1 m (อาจมีหยดน้ำเล็ดลอดเข้าไปในอุปกรณ์ได้ แต่ไม่ก่อความเสียหาย จนไม่สามารถใช้งานได้)
- 8 ป้องกันการถูกจุ่มน้ำ (แช่น้ำ) ได้ลึกกว่า 1 m ในมาตรฐานนี้ ผู้ผลิตอาจมีการกำหนดปัจจัยอื่น เช่น ความเร็วการไหลของน้ำ ช่วงอุณหภูมิของน้ำ ฯลฯ ก่อนที่จะทำการทดสอบ และนำข้อมูลไปทำโฆษณาออกสื่อสาธารณะ
- 9 ป้องกันการแช่น้ำ การฉีดน้ำแรง หรือขั้นตอนการทำความสะอาดที่มีแรงดันไอน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง (มาตรฐานระดับนี้มักพบเห็นในอุปกรณ์ที่ใช้ในงานสมบุกสมบันหรือที่ออกแบบมาเพื่อกิจกรรมพิเศษหรือเฉพาะเจาะจง)
Water-resistant กับ Waterproof.. อันไหนกันแน่ที่ “กันน้ำ”???
ในภาษาไทย ทั้งสองคำมักจะถูกแปลว่า “กันน้ำ” ทั้งคู่ จริง ๆแล้ว ในภาษาอังกฤษ คำว่า water resistant หมายความว่า “ต้านทานน้ำได้” ทีนี้ เราก็ต้องมาแปลไทยเป็นไทยกันอีกนิดนึง คำว่า “ต้านทาน” จะมีข้อจำกัดอยู่ในเรื่องของปัจจัยบางอย่างเช่น เวลา หรือแรงดัน หรือความลึกของน้ำ ว่า ต้านทานได้นานขนาดไหน.. เช่น ต้านทานได้นาน 30 นาที ในน้ำลึกไม่เกิน 30 cm ถ้านานกว่านี้ น้ำอาจจะทะลักเข้าไปได้ เป็นต้น
คำว่า water resistant นี้ ถูกใช้ในวงการนาฬิกามานานหลายสิบปีแล้ว จนกลายเป็นหนึ่งในสเป็คที่ผู้ผลิตนาฬิกาต้องบอกกับลูกค้า
ส่วนคำว่า waterproof แปลว่า “ป้องกันน้ำเข้า” แบบสมบูรณ์ คือยังไงน้ำก็เข้าไปด้านในของอุปกรณ์ที่ว่านั้นไม่ได้แน่แต่ในโลกปัจจุบันนี้ คำว่า waterproof ไม่ค่อยถูกนำมาใช้งานแล้ว เนื่องจากถูกเข้าใจจากสาธารณชนว่า ยังไง น้ำก็ไม่เข้า ซึ่งอุปกรณ์ เครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ ในพศ.นี้ มันไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็น waterproof มากนัก แต่มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานในระดับ water resistant ซะเป็นส่วนใหญ่ เช่น สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ แก็ดเจ็ทต่าง ๆ นั่นหมายความว่า อุปกรณ์เหล่านี้บางตัว สามารถทำตกน้ำได้ ใช้ในน้ำได้ แต่ในเวลาที่จำกัด ในความลึก ความดันที่จำกัด เช่น ใช้ในน้ำ หรือแช่น้ำได้ไม่เกิน 30 นาที น้ำต้องลึกไม่เกิน 1 m อะไรแบบนี้ครับ
ไฟสนาม SCANGRIP รุ่น NOVA SPS
SCANGRIP ได้ออกไฟสนามรุ่นล่าสุดออกมาเมื่อต้นปีนี้ และถือได้ว่าเป็นรุ่นที่ไฮเท็คที่สุดตั้งแต่ที่เคยผลิตมา ด้วยการดีไซน์ตัวโคมใหม่หมด แต่ยังคงไว้ซึ่งความแข็งแรง ทนทาน เพราะผลิตจากอลูมิเนียมด้วยวิธีการ Die-casting (ฉีดอลูมิเนียมที่มีความร้อนสูงเข้าไปในแม่พิมพ์) และที่สำคัญ ยังคงรักษามาตรฐานการกันฝุ่น กันน้ำ อยู่ในระดับ IP67 นอกจากนี้ NOVA SPS ยังเพิ่มความสามารถใหม่ ๆ เข้ามาอีก เช่น
- แบตเตอรี่ถอดเปลี่ยนได้ เมื่อแบตหมด สามารถเอาก้อนสำรองมาใช้แทน และเอาก้อนที่หมดแล้วไปชาร์ตบนแท่นชาร์จได้ (แท่นชาร์จเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ให้มาในชุดเลย)
- ในกรณีแบตเตอรี่หมดทั้งสองก้อน ตัวโคมไฟเอง ยังมีแหล่งสำรองไฟ ที่สามารถเปิดไฟใช้งานได้อีก 1 ชั่วโมง (ที่ความสว่างต่ำสุด 400 lumen) อันนี้ถือว่า มีประโยชน์สุด ๆ ของมันลืมชาร์จกันได้ ยามฉุกเฉิน ยังสามารถใช้งานได้
- ควบคุมการเปิด-ปิด การปรับระดับความสว่างได้จาก app SCANGRIP ทั้งบน iOS และ Android นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมไฟรุ่นนี้ได้ถึง 4 ดวง และยังตั้งรหัส (pin code) สำหรับไฟแต่ละดวง ป้องกันคนที่ไม่เกี่ยวข้อง มันเปิด ปิด หรี่ไฟ โดยไม่ได้รับมอบหมาย
- ปรับความสว่างได้ 5 ระดับ
- สามารถใช้ร่วมกับขาตั้งแท้ของ SCANGRIP ที่มีทั้งรุ่นมีล้อ (Wheel stand) หรือรุ่นสามขา ไม่มีล้อ (Tripod)