เพราะเครื่องมือช่าง (hand tools)มีมากมายหลายประเภทให้เราได้เลือกใช้ นอกจากประเภทต่างๆ ของเครื่องมือที่มีมากมายอยู่แล้ว ในแต่ละประเภทยังมีหลายแบบ หลายแบรนด์ ที่ผู้ผลิตทั้งหลาย ผลิตกันออกมา ด้วยรูปแบบของเครื่องมือที่ต่างกัน แต่เนื่องจากเครื่องมือช่าง (เครื่องมือช่าง มีอะไรบ้าง) มีผลโดยตรงต่อผู้ใช้และงานที่ออกมา เราจึงควรที่จะเข้าใจและรู้จักเครื่องมือช่าง จนสามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ตัวเราทำงานได้ง่าย ไม่บาดเจ็บ และได้งานออกมาดี
มาดูกันค่ะว่าเทคนิคที่พวกเราชาว SoluEX ไปหามาให้ทุกท่าน มีอะไรบ้าง เพราะเราห่วงใยอยากให้ทุกท่านมีความปลอดภัยในการทำงานนะคะ …
1. เครื่องมือช่าง ที่มีด้ามเดียวที่ต้องใช้แรงขัน
สำหรับงานที่ต้องใช้แรงขัน (One-handled hand tools for power tasks) >> เครื่องมือควรมีด้ามจับที่มีขนาด 1 1/4″ – 2″
2. เครื่องมือช่าง ที่มีด้ามเดียวสำหรับงานแม่นยำ
สำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำ (One-handled hand tools for precision tasks) >> เครื่องมือควรมีด้ามจับที่มีขนาด 1/4″ – 1/2″
3. เครื่องมือช่าง ที่มี 2 ด้ามสำหรับงานใช้แรงขัน
สำหรับงานที่ต้องใช้แรงขัน (Two-handled hand tools for power tasks) >> ด้ามจับทั้ง 2 ด้าน ห่างกันไม่เกิน 2″ (ตอนไม่ใช้งาน) และห่างกันไม่เกิน 3 1/2″ (ตอนใช้งาน)
4. เครื่องมือช่าง ที่มี 2 ด้าม สำหรับงานแม่นยำ
สำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำ (Two-handled hand tools for precision tasks) >> ด้ามจับทั้ง 2 ด้าน ห่างกันไม่เกิน 1″ (ตอนไม่ใช้งาน) และห่างกันไม่เกิน 3″ (ตอนใช้งาน)
5. เครื่องมือตัดที่มี 2 ด้าม แบบสปริง
แบบมีสปริงดึงกลับ (Cutting tools with spring-loaded handles) >> ควรเลือกเครื่องมือตัดที่มีสปริงระหว่างด้ามจับ เพราะสปริงดึงกลับ จะช่วยทำให้ด้ามจับกางออกไปยังตำแหน่งที่พร้อมใช้งาน
6. เครื่องมือที่มีร่องนิ้วมือที่ด้ามจับ
(Tools with finger grooves on the handle) >> ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการที่เครื่องมือหลุดลื่นจากมือ
7. เครื่องมือช่าง ที่ทำมุม ไม่ต้องงอข้อมือเวลาใช้งาน
(A tool with an angle allows you to work with a straight wrist) >> เครื่องมือช่างที่ทำมุม ช่วยลดอาการเมื่อยล้าจากการใช้เครื่องมือเป็นระยะเวลานาน มุมองศาจะถูกคำนวณจากหลักสรีระศาสตร์ในมุมการใช้งานที่เหมาะสมโดยผู้ใช้งานจะไม่ต้องเอียงข้อมือในระหว่างใช้งาน ทำให้สามารถใช้งานได้เป็นระยะเวลานานขึ้นโดยไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และลดโอกาสเกิดความบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เครื่องมือชนิดนี้จะมีอยู่ในเครื่องมือช่างราคาแพง
8. เครื่องมือที่ต้องใช้แรงบิดสูง
(Tools that require high forces) >> ควรเลือกเครื่องมือที่ด้ามจับยาวกว่าฝ่ามือ โดยปกติคือ 4-6 นิ้ว เพื่อป้องกันแรงที่ปลายด้ามที่จะกดไปยังฝ่ามือของเรา ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เราเกิดอาการบาดเจ็บได้
9. เครื่องมือที่ด้ามจับไม่ลื่น
(Tools with anti-slip gripper) >> เพื่อให้เราสามารถจับเครื่องมือได้อย่างมั่นคง ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้เครื่องมือ ด้ามชนิดเหล่านี้มักจะผลิตจากยาง ซึ่งเราต้องดูคุณภาพให้ดี เพราะถ้าทำจากยางคุณภาพต่ำอาจจะเกิดเป็นคราบเหนียวหลังจากการใช้งานได้ระยะหนึ่ง